วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจัดโต๊ะอาหารแบบตะวันตก

     

การจัดโต๊ะอาหารแบบตะวันตก


เป็นที่รู้ๆกันอยู่ว่าเดี๋ยวนี้เรานิยมออกไปทานอาหารนอกบ้านกัน เพราะทั้งสะดวกสบาย แถมยังมีร้านหลากหลายมากมายให้เลือกแวะไปทานกัน แต่สำหรับบางคนก้อบางเห็นว่ายังไงทำทานเองสบายใจกว่า หรือบางทีมีแขกไปใครมาจะได้โชว์ฝีมือแสดงเสียหน่อย
          การจะสร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน นอกจากรสชาติอาหารที่อร่อยแล้ว การจัดโต๊ะอาหารเองก้อมีความสำคัญที่จะสร้างความประทับใจแรกเริ่มได้เช่นกัน
          การจัดวางเครื่องมือนั้นเป็นเรื่องสำคัญเพราะถ้าวางไม่ถูก ก้อจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการทาน แล้วอีกอย่างคือเครื่องมือเหล่านี้จะสามารถบอกให้รู้ได้ทันทีว่า อาหารที่จะนำมาเสิร์ฟนั้นเป็นอาหารประเภทใด เครื่องดื่มชนิดไหน 

ขั้นตอนในการจัดโต๊ะอาหาร

          เริ่มด้วยการตรวจดูความสะอาดเรียบร้อยของห้องอาหาร พื้น โต๊ะ เก้าอี้ ปูผ้าปูโต๊ะให้ชายผ้ายาวเท่ากันทุกด้าน และให้มุมของผ้าคลุมขาโต๊ะพอดี จัดวางขวดเกลือ พริกไทย โถน้ำตาล และที่เขี่ยบุหรี่บนโต๊ะ โดยมีสูตรทั่วไปว่า เครื่องปรุง 1 ชุด จะใช้สำหรับแขก 6 ที่นั่ง
          จัดวางเครื่อง มือในการรับประทานอาหาร เช่น มีด ส้อม แก้ว ผ้าเช็ดมือ โดยเครื่องมือทุกชิ้น วางตั้งแยกห่างจากขอบโต๊ะ 1 นิ้ว เรียงตามลำดับจากด้านนอกไปด้านใน
          ช้อนซุปวางหงาย ถัดจากมีดไปทางขวามือ ส้อมวางด้านซ้ายมือโดยหงายขึ้น แต่ส้อมค็อกเทล หรือส้อมจิ้มหอยนางรมให้วางอยู่ขวาสุด ถัดจากช้อนซุปออกไป มีดเนยวางบนจานขนมปังอาจวางอยู่ขวาสุดโดยหันด้านมีคมไปทางซ้ายหรือวางไว้ ด้านบนสุดของจานขนมปัง หันด้านมีคมเข้าหาจาน
          หลังจากนี้ไม่ ควรจัดเครื่องมือทานอาหารเกินกว่าแถวละ 5 ชิ้น ถ้าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือมากกว่านี้ ต้องเก็บเครื่องมือชุดก่อนๆที่ใช้แล้วออกก่อน แล้วค่อยเพิ่มเครื่องมือชุดใหม่เข้ามาและไม่ควรจัดเครื่องมือในการทานอาหาร เกินกว่าแถวละ 6 ชิ้น
          ขั้นตอนสุดท้าย คือ เพิ่มชีวิตชีวาให้กับโต๊ะอาหารโดยการตกแต่งด้วย ผ้าเช็ดมือ แจกันดอกไม้ เชิงเทียน ให้เลือกตามความเหมาะสม
          แต่ก้ออย่าลืม นะว่าการต้อนรับอย่างมีมิตรไมตรี และมารยาทที่ดีนั่นล่ะจะทำให้ผู้มาเยี่ยมเยียนประทับใจพอๆกับรสชาติของอาหาร และการจัดโต๊ะที่ถูกต้องและงดงาม ยังไงถ้ามีโอกาส ก้อลองนำไปปฏิบัติดูแล้วกันนะคะ

ความสำคัญของความซื่อสัตย์ สุจริต และ ยุติธรรม

  ความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกันของบุคคลย่อมเป็นเหตุให้ เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในการพัฒนา ตนให้มีวินัย มีความงามทางกาย วาจานั้น มีข้อห้ามไว้ในเบญจศีลว่าจะต้องไม่กล่าวคำที่เป็นเท็จ หลอกลวง ไม่จริง และในเบญจธรรมมีข้อที่ควรปฏิบัติคือ ต้องมีสัจจะ เป็นการย้ำว่าไม่ให้โกหก ให้จริงใจต่อกัน บุคคลที่มีความจริงใจย่อมได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น จะคิดจะทำอะไร ย่อมมีผู้ช่วยเหลือค้ำจุน ต่างจากคนหลอกลวงที่ไม่มีใครอยากคบหาเสวนา หากดูคำสอนเกี่ยวกับการเลือกคบคน พระพุทธองค์ทรงสอนว่า บุคคลที่ไม่ควรคบหาสมาคมด้วยก็คือ คนประจบ ดีแต่พูด หาความจริงใจไม่ได้ การซื่อสัตย์จริงใจที่แสดงออกทางวาจา ทำให้บุคคลมีความสุจริตทางวาจา 4 ข้อในกุศลกรรมบถ 10
                ส่วน ความซื่อสัตย์ที่แสดงออกทางกายได้แก่การไม่ลักขโมยในเบญจศีล และ มีสัมมาอาชีวะ ในเบญจธรรม การลักขโมยมีความหมายกว้างถึงของทุกอย่างไม่ว่าอยู่ในที่ลับหรือที่แจ้งหาก ไม่ใช่ของของตนแม้จะได้รับโอกาสดูแลรักษาก็ต้องดูแลเพื่อให้เจ้าของเขา เป็นผู้รับประโยชน์ ไม่ใช่แสวงหาประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ตัวอย่างเช่น นักการเมือง หรือ ข้าราชการได้รับมอบหมายจากประชาชนให้ดูแลเศรษฐกิจของบ้านเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแต่ไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยหาประโยชน์เพื่อตนจากหน้าที่ ที่ได้รับ เรียกว่าคอรัปชั่น โกงบ้านโกงเมือง โกงเวลาราชการ ทำให้ถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ ในระดับครอบครัวผู้ที่ไม่ปฏิบัติเบญจศีล ทั้งในข้อมุสาและในข้อ กาเม คือ ไม่มีสัจจะ และ กามสังวรในเบญจธรรม ย่อมทำให้สามีภรรยาไม่มีความไว้วางใจกัน แสดงว่าไม่มีความซื่อสัตย์ ความสงบสุขในครอบครัวก็เกิดขึ้นไม่ได้ ปัญหาครอบครัวแตกแยกก็มีมูลเหตุมาจากความไม่ซื่อสัตย์ จริงใจ
                ผู้ ที่มีความซื่อสัตย์ทางกาย ย่อมไม่ก่อเวรภัยแก่ผู้ใด ไม่ทำร้าย คิดพยาบาท อาฆาต ทำลายใครทั้งโดยทางกาย วาจาและใจ เป็นผู้ปฏิบัติกุศลกรรมบถ ครบทั้ง 10 ประการ ความเป็นผู้มีความยุติธรรมก็บังเกิดแก่บุคคลผู้นั้นด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม จึงมีความสำคัญในอันที่จะส่งผลต่อเนื่องกัน กับการพัฒนาศีลหรือระเบียบวินัย